หัวข้อ   “การเมืองไทยในช่วงชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช.”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ระบุ ประชาชนชาวกรุงเทพ ฯ รู้สึกเบื่อหน่าย และเซ็งกับ
การชุมนุมมากที่สุด โดยเห็นว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุทำให้การเมืองไทยมีความร้อนแรงมากขึ้นในช่วงระยะนี้คือ พ.ต.ท. ทักษิณ
ชินวัตร และ กลุ่ม นปช. รองลงมาคือ กลุ่มมือที่สามที่ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์
                 ทั้งนี้ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงจะสามารถควบคุมสถานการณ์การชุมนุม
ไม่ให้เกิดความรุนแรงได้ แต่ร้อยละ 46.6 ก็ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารยึดอำนาจแม้เหตุการณ์จะรุนแรงถึงขั้นนองเลือด
โดยร้อยละ 39.2 เชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้จะจบลงด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ร้อยละ 23.8 เชื่อว่ารัฐบาล
ชุดเดิมจะได้บริหารประเทศต่อไป
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความรู้สึกต่อการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงที่จะมีขึ้นปลายสัปดาห์นี้

 
ร้อยละ
เบื่อหน่าย เซ็ง
41.7
เฉยๆ ไม่สนใจ
24.2
ตื่นเต้น น่าติดตาม
19.4
เครียดและกังวล
12.0
อื่นๆ อาทิ ไม่พอใจ รู้สึกวุ่นวาย ไม่ชอบเลย เป็นต้น
2.7
 
 
             2. ความเชื่อมั่นว่ากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะชุมนุมอย่างสงบ
                 ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ


 
ร้อยละ
เชื่อว่าบางส่วนจะชุมนุมอย่างสงบแต่บางส่วนจะใช้ความรุนแรง
47.0
เชื่อว่าจะชุมนุมอย่างสงบทั้งหมด
15.2
เชื่อว่าจะใช้ความรุนแรงทั้งหมด
12.6
ไม่แน่ใจ
25.2
 
 
             3. ประชาชนมองว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุ ทำให้การเมืองไทยมีความร้อนแรงมากขึ้นในช่วงระยะนี้ คือ

 
ร้อยละ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่ม นปช.
40.8
มือที่สามที่ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์
20.4
สื่อต่างๆ ที่นำเสนอข่าวความขัดแย้ง
18.3
รัฐบาล
14.3
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
6.2
 
 
             4. ความมั่นใจต่อความสามารถของรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงในการควบคุมสถานการณ์
                 การชุมนุม ไม่ให้เกิดความรุนแรง


 
ร้อยละ
มั่นใจ
( โดยแบ่งเป็น     มั่นใจมาก               ร้อยละ 11.8
                      ค่อนข้างมั่นใจ          ร้อยละ 27.6 )
39.4
ไม่มั่นใจ
( โดยแบ่งเป็น     ไม่มั่นใจเลย            ร้อยละ 21.5
                      ไม่ค่อยมั่นใจ            ร้อยละ 39.1 )
60.6
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อการรัฐประหารยึดอำนาจ หากสถานการณ์รุนแรงบานปลายถึงขั้นนองเลือด

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
46.6
เห็นด้วย
19.9
ไม่แสดงความคิดเห็น
33.5
 
 
             6. ความคาดหมายต่อบทสรุปสุดท้ายของการชุมนุมครั้งนี้ว่าจะจบลงแบบใด

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะจบลงด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่
39.2
เชื่อว่ารัฐบาลชุดเดิมจะได้บริหารประเทศต่อไป
23.8
เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองใหม่
8.7
เชื่อว่ามีการรัฐประหารยึดอำนาจ
4.1
อื่น ๆ อาทิ จะมีการชุมนุมยืดเยื้อต่อไป
1.5
ไม่แน่ใจ
22.7
 
 
             7. ถ้ามีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ และหากสามารถเลือกได้ บุคคลที่คนกรุงเทพฯ จะเลือกให้เป็น
                 นายกรัฐมนตรีคนต่อไป คือ


 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
33.2
ยังมองไม่เห็นใครที่เหมาะสม
23.0
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
22.1
นักการเมืองหน้าใหม่ที่มีความเป็นกลาง
7.1
อื่นๆ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน ร.ต.อ.ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์
นายชวน หลีกภัย เป็นต้น
3.7
ไม่แสดงความเห็น
10.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการ
นัดชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)    ทั้งนี้เพื่อสะท้อนให้สังคมและแต่ละฝ่ายที่
เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและอาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,226 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.2 และเพศหญิงร้อยละ 51.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน  โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 10 – 11 มีนาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 มีนาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
591
48.2
             หญิง
635
51.8
รวม
1,226
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
279
22.8
             26 – 35 ปี
368
30.0
             36 – 45 ปี
282
23.0
             46 ปีขึ้นไป
297
24.2
รวม
1,226
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
661
53.9
             ปริญญาตรี
509
41.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
56
4.6
รวม
1,226
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
119
9.7
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
365
29.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
316
25.8
             รับจ้างทั่วไป
198
16.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
66
5.4
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
162
13.2
รวม
1,226
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776